ยื่น 6 ข้อหาให้ศาลรธน.ฟัน "ทักษิณ-เพื่อไทย"
วันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เข้ายื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยให้นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่2) ยุติการกระทำโดยใช้สิทธิและเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
ก่อนหน้านี้นายธีรยุทธ เคยยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดให้ส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญสินิจฉัยแต่อัยการสูงสุดไม่ได้ดำเนินการภายใน 15 วัน จึงขอใช้สิทธิประชาชนยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องทั้งทั้งสองแบ่งได้เป็น 6 กรณี ดังนี้
กรณีที่หนึ่ง
นายทักษิณ ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยลดโทษเหลือโทษจำคุก 1 ปี ใช้ให้พรรคเพื่อไทยในฐานะรัฐบาลสั้งการผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์ต่อตนเองให้เข้าพักที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจเพื่อไม่ต้องรับโทษในเรือจำแม้แต่วันเดียว ถือเป็นการฝ่าฝืนไม่น้อมรับโทษจำคุกในเรือนจำตามพระบรมราชโองการ เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่งทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่งผลให้เกิดการเชาะกร่อน บ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สุด
กรณีที่สอง
นายทักษิณ มีพฤติกรรมฝักใฝ่คบหาร่วมคิดกับสมเด็จฯฮุน เซน ผู้นำทางการเมืองประเทศกัมพูชา โดยใช้อำนาจครอบงำสั่งการให้พรรคเพื่อไทยในฐานะรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์กับสมเด็จฯฮุน เขน ให้ประเทศกัมพูชาละเมิดอธิปไตยทางทะเลของไทย โดยให้มีการเจรจาพื้นที่ที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าเป็นเขตพื้นที่ทับช้อนทางทะเล (MOU 2544) เพื่อแบ่ง ผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
กรณีที่สาม
นายทักษิณ สั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมมือแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชนที่ก่อตั้งโดยกลุ่มคนที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงเป็นการกระทำที่เข้าข่ายมีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการให้พรรคเพื่อไทยดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตัวเองพรรคพวก
กรณีที่สี่
นายทักษิณ มีพฤการณ์เป็นป็นจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้สั่งการ หรือเป็นผู้แทนพรรคเพื่อไทย หารือร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่นเพื่อกำหนดตัวบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ (บ้านจันทร์ส่องหล้า)
กรณีที่ห้า
นายทักษิณ มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการรรคเพื่อไทยขับพรรคพลังประชารัฐออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล
กรณีที่หก
นายทักษิณ มีพฤการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สังการให้พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลนำนโยบายที่นายทักษิณ แสดงวิสัยทัศน์ไว้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ไปเป็นนโยบายของรัฐบาลและแถลงต่อที่ประชุมรัฐสภา
ผู้ร้องขอให้ศารรัฐธรรมนูญโปรดพิจารณาวินิจฉัยว่า ทั้ง 6 กรที่ผู้ถูกร้องทั้งสองได้กระทำอันเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์สูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมืองหรือดำรงความเป็นกลางทางการเมือง ย่อมเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง และ ผู้ถูกร้องทั้งสองมีการกระทำอันมีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายระบบพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง การกระทำดังกล่าวของผู้ถูกร้อง เป็นการกระทำที่อาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด
เพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจจะเกิดแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นสถาบันหลักของประเทศและสถาบันพรรคการเมืองที่มีความสำคัญสำคัญต่อระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งการตามรัธธรรมนูมาตรา 49 วรรคสอง ดังนี้
1. ให้นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการใช้พรรคการเมืองเป็นครื่องมืองมือกระทำการอันเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และเป็นผู้สั่งการการดำเนินงานของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2
3. ให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกใช้พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นเครื่องมือควบคุมการบริหาราชการแผ่นดิน สั่งการรัฐบาลให้ดำเนินการตามความต้องการของผู้ถูกร้องที่ 1
4. ให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการใช้พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
5. ให้พรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการอันเป็นการเซาะกร้อนบ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์
6. ให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครองผู้ครอบงำ และเป็นผู้สั่งการ การดำเนินงานของพรรดผู้ถูกถูกร้องที่ 2
7. ให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นเครื่องมือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินสั่งการรัฐบาลให้ดำเนินการตามความต้องการของผู้ถูกร้องที่ 1
8. ให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นครื่องมือเพื่อให้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้