Header Ads

ชาวนาไทยจนสุดในเอเชีย-อาเซียน


ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย เผยผลศึกษาการส่งออกและการผลิตข้าวช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าไทยยังอยู่ในกลุ่มนำผู้ผลิตแลละส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก แต่ชาวนาไทยกลับจนที่สุดในเอเซียและในอาเซียนเนื่องจากค่าเฉลี่ยผลผลิตต่อไร่ลดลงขณะที่ทุนการผลิตพุ่งขึ้นสวนทางแถมาครัฐยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุดเน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการแทรกแซงราคามากกว่าแก้ปัญหายั่งยืน

วันที่ 26 กรกฎาคม  2566 ที่ ห้อง ประชุมสภา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร 24 ชั้น 15 ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยโดยรศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ฯ แถลงผลการศึกษาการผลิตข้าวของโลก โดยระบุว่า  จากการวิเคราะห์และสำรวจข้อมูลการผลิตข้าวของโลกปี 2565 พบว่า ประเทศผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในโลก คือ จีน โดยผลิตข้าวสารได้ 145,946 พันตัน คิดเป็น 28.5% ของการผลิตข้าวสารโลก อย่างไรก็ตาม การผลิตข้าวสารของจีนลดลง 2% เมื่อเทียบกับปี 2564 และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปี 2561-2565 ลดลง 0.4% อินเดีย ผลิตข้าวสารได้มากเป็นอันดับสองของโลก โดยผลิตข้าวสารได้ 136,000 พันตัน คิดเป็นสัดส่วน 26.5 ของการผลิตข้าวสารโลก ซึ่งการผลิตข้าวสารของอินเดียเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2564 และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปี 2561-2565 หรือคิดเป็น 3.8%

ด้านประเทศผู้ส่งออกข่าวปี 2565 พบว่าอินเดียวเป็นประเททศที่ออกข้าวมากที่สุด รองลงมาคือไทย และเวียดนาม ประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญของอินเดีย คือ บังกลาเทศ ซาอุดีอาระเบีย และอิหร่าน ส่วนประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญของไทยในปี 2565 คือ อิรัก สหรัฐ แอฟริกาใต้ และจีน ขณะที่เวียดนาม มีคู่ค้าที่สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ กานา และจีน

        "หากดูเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า มูลค่า 3,548 ล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนาม  2,186 ล้านเหรียญสหรัฐ กัมพูชา 406 ล้านเหรียญสหรัฐ  และเมียนมา 394 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีจีนเป็นประเทศคู่ค้าข้าวที่สำคัญทั้งกับไทยและเวียดนาม รวมไปถึงเมียนมาและกัมพูชา"รศ.ดร.อัทธ์ กล่าวและว่า เมื่อเปรียบเทียบชาวนาไทยกับอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ( 2555-2565) พบว่า ผลผลิตข้าวไทยลดลง รายได้และเงินคงเหลือของไทยน้อยกว่าคู่แข่ง และต้นทุนการผลิตของไทยเพิ่มขึ้นรองจากอินเดีย


รศ.ดร.อัทธ์ กล่าวอีกว่า กรณีรายได้และเงินคงเหลือของไทยน้อยกว่าคู่แข่งาสะท้อนให้เห็นว่าการแทรกแซงตลาดข้าวไม่ใช่ทางออกของการพัฒนาข้าว ไม่ว่าจะเป็นการประกันรายได้ข้าว การประกันราคาข้าว หรือจำนำข้าว 

"10 ปีที่ผ่านมา ย้ำชัดเจนว่า นโยบายการแทรกแซงตลาดไม่ได้ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าชาวนา แต่ชาวนากลับมีรายได้ลดลง และติดลบ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าชาวนาไทย จนที่สุดในเอเชีย และกลุ่มประเทศอาเซียน จึงขอฝากถึงรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามา ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะจัดตั้งแล้วเสร็จเมื่อไหร่ต้องเข้าไปแก้ปัญหาชาวนา และปัญหาข้าวของไทยให้ตรงจุด โดยให้ดูคู่แข่งเป็นกระจกสะท้อนว่าประเทศเหล่านั้นเขาพัฒนาข้าวที่ส่งผลให้ชาวนามีรายได้เป็นบวกได้อย่างไร เพราะเราไม่สามารถพัฒนาข้าวโดยไม่ดูตลาดโลก และคู่แข่งได้ อย่าคิดแต่ว่าราคาตกก็เข้าไปแทรกแซง รํฐควรนำเงินที่ใช้แทรกแซงราคาไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือผลการผลิตทางการเกษตรอื่น มาเป็นรางวัลให้เกษตรกรที่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และศักยภาพทางการแข่งขันไปในตัว และที่สำคัญรัฐบาลใหม่ควรคิดเรื่องน้ำให้มากเพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือผลผลิตอื่น แนวทางหนึ่งที่ควรทำคือการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม เพื่อไปทำแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อรับมือกับภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้น"

Theme images by fpm. Powered by Blogger.