Header Ads

กองทุนพัฒนาสื่อฯ เปิดเวทีเสวนา “Bridging Humanity and AI” พัฒนาบุคลากรวงการสื่อ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เร่งพัฒนาบุคลากรวงการสื่อ เตรียมรับมือเทคโนโลยี AI (Artificial intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่ก้าวมาสู่สังคมดิจิทัลอย่างรวดเร็ว จัดเสวนา “Bridging Humanity and AI” จะเป็นอย่างไร เมื่อปัญญามนุษย์และ ปัญญาประดิษฐ์ร่วมมือกันสร้างสรรค์สื่อ เพื่อพัฒนาให้เกิดการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เจาะกลุ่ม ผู้ผลิตสื่อทั้ง Pre-Production, Production และ Post-Production โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ตลอด 2 วันเต็ม (12-13  ธันวาคม 2566 ) ณ โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท 

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า “ในปัจจุบัน เทคโนโลยี AI [Artificial intelligence] หรือ ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและถูกนำมาใช้ในการทำงาน มากขึ้น กองทุนสื่อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อ จึงจัดงานเสวนา “Bridging Humanity and AI” จะเป็นอย่างไร เมื่อปัญญามนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ร่วมมือกันสร้างสรรค์สื่อ เพื่อเตรียมความพร้อมให้บุคลากรในวงการสื่อได้ปรับตัว เสริมความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้งาน  AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและสังคมไทยในระยะยาวต่อไป

ในการจัดเสวนา “Bridging Humanity and AI” จะเป็นอย่างไรเมื่อปัญญามนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ ร่วมมือกันสร้างสรรค์สื่อ ได้เชิญวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการใช้งาน ได้แก่

เสวนาหัวข้อ การเข้ามาของ AI ในวงการสื่อแบบ 360 องศา โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, ผศ.ดร. สุกรี สินธุภิญโญ กรรมการสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายนพ ธรรมวานิช กรรมการสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกส์ไทย (TACGA) อาจารย์คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และนางสาวภาพเพรง เลี้ยงสุข Program Director บริษัท เทคซอส มีเดีย จํากัด

(จากขวา)  - นางสาวภาพเพรง เลี้ยงสุข, นายนพ ธรรมวานิช, ดร.ธนกร ศรีสุขใส และผศ.ดร. สุกรี สินธุภิญโญ

ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวในการเสวนา หัวข้อ การเข้ามาของ AI ในวงการสื่อแบบ 360 องศา ตอนหนึ่งว่า การพัฒนา AI ไม่ได้หมายถึงเรื่องนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ AI มาพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วย ยกตัวอย่างเช่นประเทศเกาหลีใต้ ใช้ AI พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชัดเจนมาก

"เกาหลีใต้วางเป้าหมายชัดเจนว่าในแต่ละปีเขาจะพัฒนาบุคคลากรเกี่ยวกับ AI เท่าไหร่ และที่ชัดเจนกว่านั้นคือเขาประกาศว่าไม่ว่าจีนจะพัฒนาด้านนี้ไปไกลไปไหนเขาจะไม่ยอมแพ้ นอกจากนี้ยังใช้ AI สร้างอินฟลูเอนเซอร์และพรีเซนเตอร์โฆษณาด้วย"ดร.ธนกร กล่าวพร้อมระบุว่า แม้ AI จะมีประโยชน์อย่างมากในหลายด้าน แต่ก็ไม่ควรฝากความหวังทั้งหมดไว้กับ AI  โดยเฉพาะด้านการผลิตสื่อ ซึ่งเราต้องทำให้ทั้งคนผลิตสื่อและคนเสพสื่อรู้เท่าทัน AI  เพราะต้องยอมรับว่าทุกอย่างมีสองด้าน คนไม่ดีนำ AI  ไปใช้ในทางไม่ดีก็เยอะ จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการทำให้คนรู้เท่าทันเรื่องนี้ด้วยเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ

ผศ.ดร. สุกรี สินธุภิญโญ กล่าวว่า AI ไม่ใช่โปรแกรม แต่เป็นวิธีคิดเลียนแบบมนุษย์ สามารถรวบรวมข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลได้ เมื่อถึงเวลาที่มนุษย์และ AI ร่วมกันทำงานจะทำให้ได้กระบวนการคิดที่มากกว่าเดิมแต่ใช้เวลาน้อยลง

"แม้ AI จะทำได้หลายอย่างจนน่ากลัว แต่สิ่งหนึ่งที่ AI ทำไม่ได้คือการสื่อสาร แบบมนุษย์สื่อสารกับมนุษย์ ไม่ว่าเราจะใช้ AI ทำอะไร สุดท้ายคนที่จะสื่อสารผลงานนั้นได้ดีที่สุดก็ยังเป็นมนุษย์อยู่ดี"

นายนพ ธรรมวานิช กล่าวว่า ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่า AI เข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการทำงานกับทุกองค์กร โดยมีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการ Pre-Production  Production ไปจนถึง Post-Production

"AI ไม่ได้แค่ช่วยให้ชิ้นงานมีความสมบูรณ์ขึ้น หรือสวยขึ้นอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำงานเป็นอย่างมาก ทำให้มนุษย์มีเวลาเหลือที่จะไปสร้างสรรค์งานอื่น และเมื่อเราใช้ AI ช่วยในการทำงานจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการสร้างชิ้นงานที่มีความหลากหลายขึ้นด้วย"

ด้านนางสาวภาพเพรง เลี้ยงสุข กล่าวว่า แม้ AI จะเข้ามาช่วยสร้าง Synectics media ให้มีความน่าสนใจหลากหลาย เป็นความสร้างสรรค์ที่มากกว่าเทคโนโลยี แต่สิ่งที่ควรระวังคือ Synectics media ไม่ได้สร้างจากฐานข้อมูลที่เป็นข้อมูลจริงทั้งหมด ทำให้การเสพสื่อมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้วิจารณญาณด้วย

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ทั้งนี้นอกจากการเสวนาหัวข้อ การเข้ามาของ AI ในวงการสื่อแบบ 360 องศาแล้วยังมีการบรรบายในหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจดังนี้

• บรรยายในหัวข้อ AI กับ Data-driven เตรียมพร้อมทุกการแข่งขัน โดย นายพงษ์ปิติ ผาสุขยืด ผู้ก่อตั้ง Ad Addict

• บรรยายในหัวข้อ AI ผู้ช่วยบริหารกับการจัดการมืออาชีพ โดย นายโชค วิศวโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จํากัด

• บรรยายหัวข้อ ใช้ AI Tools ทางเลือกใหม่ในงาน Pre-Production  โดย ผศ.ดร.กิตติพงษ์ สุวรรณราช ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 

• บรรยายหัวข้อ ศาสตร์ & ศิลป์ การสร้างภาพจาก AI โดย นายเมธากวี สีตบุตร Prompt Engineer ผู้สร้างสรรค์ผลงานจาก AI 

• บรรยายหัวข้อ เล่าเรื่องด้วย Generative AI โดย คุณกุลพงษ์ ไวยามัจมัยกุล Virtual Art Director และคุณกฤษฏิ์พิชญ์ นิพิษฐานันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท กันตนา โพสต์ โปรดักชั่น (ไทยแลนด์) จํากัด 

• บรรยายหัวข้อ จริยธรรมในการใช้ AI โดย ผศ.ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ข้อมูล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• เสวนาหัวข้อ Generative AI ใช้อย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดย ผศ.ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ข้อมูล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ตัวแทนกรมทรัพย์สินทางปัญญา และ นายอัศวิน อัศวพิทยานนท์ Senior Graphic Designer บริษัท ดาต้าเอ็กซ์ จำกัด

สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงานเสวนา “Bridging Humanity and AI” จะเป็นอย่างไร เมื่อปัญญามนุษย์และ ปัญญา ประดิษฐ์ร่วมมือกันสร้างสรรค์สื่อ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มบุคลากรในวงการสื่อไม่ว่าจะเกี่ยวข้องทางใด ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่นสื่อมวลชน, สื่อออนไลน์, คอนเทนครีเอเตอร์ หรือผู้ผลิตสื่อ ทั้งในส่วนของ Pre-production ,Production และ Post-Production และอื่น ๆ ทั้งนี้ คาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้ จะได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ AI และเห็นถึงมุมมองต่าง ๆ ได้รู้จัก พร้อมทดลองใช้ Tools และสามารถเลือก ลักษณะ AI ที่สอดคล้องกับการทำงาน นำมาปรับใช้เพื่อช่วยในการผลิตสื่อได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ 

สำหรับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีพันธกิจสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนในการผลิต พัฒนาเนื้อหา และส่งเสริมผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการ เรียนรู้ อีกทั้ง พัฒนาองค์ความรู้ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัย และทักษะการรู้ เท่าทันสื่อแก่เด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไป อีกทั้งพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง เพื่อการขับเคลื่อนภารกิจด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่านยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่  ส่งเสริมการผลิต, ส่งเสริมการวิจัย, เสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ, ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างมูลค่าเพิ่มของสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  ทั้งนี้ ในการจัด ร่วมงานเสวนา “Bridging Humanity and AI” นับเป็นอีกกิจกรรมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ของ  กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำหรับผู้สนใจ กิจกรรม หรือ ข้อมูลรายละเอียด สามารถติดตามได้ที่  Website : www.thaimediafund.or.th  FACEBOOK : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 

Theme images by fpm. Powered by Blogger.